นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 มีชื่อเล่นว่า "แมว" เป็นบุตรชายของนายเมธาและนางธีรวัลย์ เอื้ออภิญญกุล โดยบิดาเคยเป็นอดีต ส.ส.แพร่ มีพี่น้อง 3 คน คือ
นายวรวัจน์ จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จบปริญญาโท สาขาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
นายวรวัจน์ เริ่มลทำงานการเมืองในนาม "กลุ่มเมืองแพร่" ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแพร่ เมื่อปี พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย นายวรวัจน์ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในนามของพรรคชาติไทย และได้รับเลือก จนกระทั่งได้ย้ายไปอยู่พรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเช่นกัน และพรรคไทยรักไทยก็ได้ถูกตัดสินยุบพรรคใน พ.ศ. 2550 นายวรวัจน์จึงย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ใน พ.ศ. 2550 นายวรวัจน์ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดแพร่ ในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับเลือก
เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 และมีการสลายการชุมนุมในวันที่ 13 เมษายน นายวรวัจน์จึงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างความขัดแย้งและส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งก็ยังไม่มีใครยืนยันว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรว่าผู้ใดเป็นคนกระทำ ดังนั้นจึงต้องเปิดเผยข้อมูลให้ครบทุกด้าน โดยนายวรวัจน์ยังเชิญชวนประชาชนว่าหากใครที่มีคลิปหรือได้ถ่ายภาพ ก็ให้ส่งมาให้ที่พรรคเพื่อไทย
ต่อมาวันที่ 23 เมษายน นายวรวัจน์ลุกขึ้นอภิปรายและได้ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในการนำภาพผู้เสียชีวิต ภาพเหตุการณ์ และญาติผู้ชีวิต จากการสลายการชุมนุมมาชี้แจงในรัฐสภา โดยยืนยันและรับรองด้วยเกียรติของสมาชิกรัฐสภา และตำแหน่ง ส.ส.เพราะตนได้ไปพบด้วยตนเอง ทั้งนี้หากประธานไม่ให้พูดในรัฐสภาจะลงไปแถลงข้างล่าง แต่ปรากฏว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ไม่อนุญาต โดยยืนยันว่านายชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้วินิจฉัยแล้ว จากนั้นนายวรวัจน์ได้เปิดคลิปวิดีโอพร้อมภาพนิ่งประกอบ เป็นภาพชายรปภ. 2 คนที่เสียชีวิตลอยน้ำมา ถูกมัดมือและปาก โดยชูภาพนิ่งประกอบว่าชายทั้งสองเป็นการ์ดนปช. ที่เคยไปยืนบนเวที นปช.ในวันที่ 22 มีนาคม ที่ผ่านมา พร้อมกับฉายคลิปวิดีโอทหารรุมทำร้ายผู้ชุมนุมรายหนึ่ง ระหว่างการเข้าสลายการชุมนุมที่สามเหลี่ยมดินแดง นายวรวัจน์กล่าวว่าตนขอให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลาออก และเอาคนกลางมาสอบหาข้อเท็จจริง
ต่อมานายวรวัจน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ระหว่างดำรงตำแหน่งเคยมีแนวคิดที่จะนำความเชื่อ และพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เช่น พญานาค ควายธนู เสน่ห์ยาแฝด น้ำมนต์ ปลัดขิก มาทำเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพื่อขายเป็นที่ระลึก จนได้รับเสียงฮือฮาจากประชาชนอย่างมาก ต่อมาพรรคถูกยุบ นายวรวัจน์จึงย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยที่นายวรวัจน์ ได้มอบหมายภารกิจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการ ให้กำกับดูแลการศึกษาเป็นรายภาค แทนการแบ่งงานในรูปแบบเดิมที่ใช้การแบ่งภารกิจตามหน่วยงาน โดยนายวรวัจน์ จะดแลรับผิดชอบในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งการบริหารงานของนายวรวัจน์ ได้ถูกสมาชิกในพรรคเดียวกันวิพากษ์วิจารย์ถึงแนวทางการบริหารงาน และการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง นอกจากนี้นายนายวรวัจน์ยังนำแนวคิดนอกกรอบเพื่อหารายได้เข้าโรงเรียนดังโดยนำระบบแป๊ะเจี๊ยะเข้ามาในระบบการคัดเลือกนักเรียน รวมทั้งยังได้กำหนดนโยบายพิจารณาเงินงบประมาณพิเศษให้กับมหาวิทยาลัยที่ดำเนินการตามแนวทางของรัฐบาล
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3) ซึ่งต่อมากลุ่มพนักงานสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำใบปลิว "ความไร้ธรรมาภิบาลของ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เผยแพร่กล่าวถึงพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากลของนายวรวัจน์ พร้อมกับนัดแต่งชุดดำประท้วง ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป รวมทั้งมีการเขียนจดหมายปิดผนึก และจดหมายเปิดผนึก "ไว้ทุกข์ให้กับความถดถอยของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย" เผยแพร่ต่อสาธารณะ อีกทั้งยังมีการพูดถึงการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม การใช้อำนาจให้พวกพ้อง ญาติสนิทได้ผลประโยชน์ในกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การตัดงบ และความตั้งใจที่จะทำลายสวทช กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556
อุไรวรรณ เทียนทอง • อนุรักษ์ จุรีมาศ • อุไรวรรณ เทียนทอง • ไขศรี ศรีอรุณ • อนุสรณ์ วงศ์วรรณ • สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • ธีระ สลักเพชร • นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ • สุกุมล คุณปลื้ม • สนธยา คุณปลื้ม • วีระ โรจน์พจนรัตน์
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • แสวง เสนาณรงค์ • มนูญ บริสุทธิ์ • สุรินทร์ มาศดิตถ์ • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • ปรีดา พัฒนถาบุตร • นิพนธ์ ศศิธร • ชวน หลีกภัย • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • ดุสิต ศิริวรรณ • บุญเรือน บัวจรูญ • สมพร บุญยคุปต์ • ถวิล รายนานนท์ • บุญยง วัฒนพงศ์ • สวัสดิ์ คำประกอบ • เฉลิมชัย จารุวัสตร์ • สิทธิ เศวตศิลา • เกษม จาติกวณิช • ปรีดา กรรณสูต • ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมวล กุลมาตย์ • พร ธนะภูมิ • ดำริ น้อยมณี • สมศักดิ์ ชูโต • มีชัย ฤชุพันธุ์ • ชาญ อังศุโชติ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • สุตสาย หัสดิน • ศุลี มหาสันทนะ • ชาญ มนูธรรม • กระมล ทองธรรมชาติ • ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ • บัญญัติ บรรทัดฐาน • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • อำนวย สุวรรณคีรี • วิชิต แสงทอง • อรุณ ภาณุพงศ์ • บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ • กร ทัพพะรังสี • อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ • เฉลิม อยู่บำรุง • ประสงค์ บูรณ์พงศ์ • สรอรรถ กลิ่นประทุม • สอาด ปิยวรรณ • กร ทัพพะรังสี • หาญ ลีนานนท์ • จำรัส มังคลารัตน์ • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี • ไพจิตร เอื้อทวีกุล • มีชัย วีระไวทยะ • สายสุรี จุติกุล • ใหม่ ศิรินวกุล • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • สุชน ชามพูนท • วัฒนา อัศวเหม • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • ทินพันธุ์ นาคะตะ • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ • ชินวุธ สุนทรสีมะ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ปัญจะ เกสรทอง • ปองพล อดิเรกสาร • เรืองวิทย์ ลิกค์ • จรัส พั้วช่วย • รักเกียรติ สุขธนะ • โภคิน พลกุล • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • ฉัตรชัย เอียสกุล • ชิงชัย มงคลธรรม • วีระกร คำประกอบ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ • ภูษณ ปรีย์มาโนช • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • สุพัตรา มาศดิตถ์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • สมบุญ ระหงษ์ • ไชยยศ สะสมทรัพย์ • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • ปวีณา หงสกุล • ภิญโญ นิโรจน์ • อดิศัย โพธารามิก • จาตุรนต์ ฉายแสง • ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา • สมศักดิ์ เทพสุทิน • กระแส ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุรนันทน์ เวชชาชีวะ • เนวิน ชิดชอบ • ทิพาวดี เมฆสวรรค์ • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ • ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล • ชูศักดิ์ ศิรินิล • จักรภพ เพ็ญแข • สุขุมพงศ์ โง่นคำ • สุพล ฟองงาม • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย • วีระชัย วีระเมธีกุล • องอาจ คล้ามไพบูลย์ • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ • กฤษณา สีหลักษณ์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • นลินี ทวีสิน • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล • วราเทพ รัตนากร • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • สันติ พร้อมพัฒน์ • หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล • สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ